
การทำ ICSI มีขั้นตอนอย่างไร และมีความเสี่ยงอะไรบ้าง
การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF (In Vitro Fertilization) คือเทคนิคที่ช่วยรักษาคนไข้ที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้เองตามธรรมชาติ การทำเด็กหลอดแก้วช่วยให้ตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัยผ่านการปฏิสนธิในห้องปฏิบัติการและย้ายตัวอ่อนที่คุณภาพดีกลับสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิง
เทคนิค ICSI มีกระบวนการเหมือนการทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี IVF แตกต่างกันตรงขั้นตอนการปฏิสนธิ โดยวิธีการ ICSI จะคัดเลือกอสุจิที่คุณภาพดีหนึ่งตัว ฉีดเข้าไปในไข่โดยตรง เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิแทนการปล่อยให้อสุจิผสมกับไข่เองตามวิธี IVF
ICSI มักใช้ในการรักษาภาวะมีบุตรยาก ที่เกิดจากความผิดปกติของเพศชายระดับรุนแรงเกินกว่าจะรักษาโดยเทคนิค IVF ดังนั้น ICSI คือวิธีการรักษาที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงกว่า IVF นั่นเอง
การทำ ICSI มีขั้นตอนอย่างไร?
การทำ ICSI มีขั้นตอนโดยรวม 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. การกระตุ้นไข่
กระบวนการทำ ICSI เริ่มในวันที่ 2 หรือ 3 ของรอบเดือน แพทย์จะนัดพบฝ่ายหญิงเพื่อตรวจเลือดและอัลตราซาวด์ หากอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จะเริ่มกระตุ้นไข่ของฝ่ายหญิง ด้วยการฉีดยากระตุ้นไข่ทุกวัน เป็นเวลา 10-14 วัน ระหว่างนี้จะมีการตรวจเลือดและอัลตราซาวด์ เป็นระยะ ทุก 3-4 วัน เพื่อติดตามการเติบโตของฟองไข่ เมื่อฟองไข่โตถึงขนาดที่เหมาะสมแล้วแล้วจึงฉีดยากระตุ้นให้ไข่ตก (Trigger Shot) และ 36 ชั่วโมงหลังฉีดยา Trigger Shot จึงเริ่มกระบวนการเก็บไข่
2. การเก็บไข่และอสุจิ
36 ชั่วโมง หลังฉีดยากระตุ้นให้ไข่ตก แพทย์จะเริ่มกระบวนการเก็บไข่ด้วยการวางยาสลบ และใช้เข็มขนาดเล็กเจาะผ่านช่องคลอดและดูดไข่ออกมา โดยในระหว่างการเก็บไข่ แพทย์จะทำอัลตราซาวน์ในเวลาเดียวกัน
ในวันเก็บไข่ ฝ่ายชายจะเก็บอสุจิเช่นเดียวกัน เว้นแต่กรณีใช้อสุจิแช่แข็ง หลังจากนั้นอสุจิจะถูกปั่นล้างให้พร้อมสำหรับกระบวนการ ICSI หลังกระบวนการเก็บไข่ประมาณ 2 ชั่วโมง
3. การทำ ICSI หรือ ฉีดอสุจิที่คัดแล้วเข้าสู่ไข่
หลังเสร็จสิ้นกระบวนการเก็บไข่และอสุจิ นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะเลือกอสุจิผ่านกล้องจุลทรรศน์ โดยคัดอสุจิที่มีรูปร่างปกติและเคลื่อนไหวเร็ว และทำการฉีดอสุจิเข้าสู่ไข่ทีละใบด้วยเข็มขนาดเล็ก วันรุ่งขึ้น นักวิทยาศาสตร์จะตรวจสอบว่าไข่และอสุจิปฏิสนธิกันเป็นตัวอ่อนหรือไม่
4. การเลี้ยงตัวอ่อน
ตัวอ่อนจะถูกเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ 5-6 วัน จนเติบโตถึงระยะบลาสโตซิสต์ หลังจากนั้นตัวอ่อนที่แข็งแรงและคุณภาพดี จะถูกย้ายกลับสู่โพรงมดลูก หรือถูกนำไปแช่แข็งไว้เตรียมย้ายในรอบอื่นๆ
5. การย้ายตัวอ่อน
หลังเลี้ยงตัวอ่อนถึงระยะบลาสโตซิสต์ ตัวอ่อนที่คุณภาพดีจะได้รับการย้ายกลับสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิง การย้ายตัวอ่อนเป็นขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากและไม่เจ็บ แพทย์จะสอดสายย้ายตัวอ่อนเข้าไปผ่านช่องคลอดและปากมดลูกจนถึงโพรงมดลูก ควบคู่กับการใช้อัลตราซาวด์ช่วยนำทางปลายสายให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมในโพรงมดลูกก่อนที่จะฉีดตัวอ่อนเข้าไปฝังตัวตรงตำแหน่งที่ต้องการ เมื่อทำการย้ายเสร็จสิ้น ตัวอ่อนจะเริ่มฝังตัวที่ผนังมดลูกและเจริญเติบโต หลังการย้ายตัวอ่อน 7-10 วัน สามารถเจาะเลือดเพื่อตรวจการตั้งครรภ์ หลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ แพทย์จะตรวจอัลตราซาวด์อีกครั้งเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์
การทำ ICSI มีความเสี่ยงอะไรบ้าง?
โดยทั่วไปแล้ว ICSI เป็นกระบวนการรักษาที่มีความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามทุกการรักษาทางการแพทย์มีโอกาสเกิดความเสี่ยงได้ ความเสี่ยงที่พบได้จากกระบวนการ ICSI ได้แก่
ไข่เสียหาย: ด้วยลักษณะของไข่ที่มีความเปราะบาง ไข่อาจเกิดความเสียหายจากการใช้เข็มสอดเข้าไปในเนื้อไข่จากการทำ ICSI ดังนั้นการเลือกคลินิกที่มีนักวิทยศาสตร์ที่มีประสบการณ์และความชำนาญจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียหายของไข่จากการทำ ICSI
ความผิดปกติของโครโมโซม, ภาวะออทิสติก, ภาวะความผิดปกติทางสติปัญญา, และความผิดปกติโดยกำเนิด : ข้อมูลจากงานวิจัยบางงาน พบว่าการรักษาด้วยวิธี ICSI อาจสัมพันธ์กับการเกิดความผิดปกติดังกล่าวข้างต้นเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิค IVF และการตั้งครรภ์โดยธรรมชาติ
การตั้งครรภ์แฝด: อัตราการตั้งครรภ์แฝด จาก ICSI และตั้งครรภ์ธรรมชาตินั้นไม่ต่างกัน แต่การตั้งครรภ์แฝดย่อมเพิ่มขึ้นตามจำนวนตัวอ่อนที่ย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูก เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์แฝด (แฝดสอง, แฝดสาม ฯลฯ) แพทย์จะแนะนำให้ย้ายตัวอ่อนกลับเพียงแค่ตัวเดียว
ภาวะรังไข่ตอบสนองต่อการกระตุ้นมากเกินไป (Ovarian Hyperstimulation Syndrome (OHSS): ภาวะนี้เกิดจากการที่ร่างกายตอบสนองต่อยากระตุ้นมากเกินไป ทำให้มีอาการท้องอืด, กดเจ็บที่บริเวณช่องท้อง, มีอาการคลื่นไส้อาเจียน หรืออาจมีอาการรุนแรงได้หากไม่ได้ดูแล อย่างไรก็ดีคลินิกที่ได้มาตรฐานจะมีการตรวจติดตามการตอบสนองของรังไข่และปรับยาตามความเหมาะสม เพื่อลดโอกาสเกิด OHSS ให้น้อยที่สุด
ความพิถีพิถันในการเลือกคลินิก จึงนับว่ามีความสำคัญมาก คลินิก ICSI ที่ดีควรมีอุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยและครบครัน มีห้องปฏิบัติการที่มีคุณภาพและได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนมีทีมงานผู้ชำนาญการที่น่าเชื่อถือ และมีอัตราความสำเร็จที่น่าพอใจตลอดมา
หากต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับ การเก็บไข่ และการเจริญพันธุ์ท่านสามารถปรึกษาได้ที่ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที.
ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2550 โดยการร่วมมือระหว่างแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ IVF, ICSI, IUI, ฝากไข่ และเด็กหลอดแก้วในประเทศไทยและผู้ให้บริการด้านภาวะเจริญพันธุ์จากประเทศออสเตรเลีย ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. เป็นคลินิกรักษาผู้มีบุตรยากและวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อนที่เพียบพร้อมด้วยแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และทีมนักวิทยาศาสตร์ที่ชำนาญเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproduction Technology – A.R.T.) พวกเรามีความมุ่งมั่นจะสานทุกความฝันในการมีบุตรของทุกครอบครัวให้สมบูรณ์
เทคนิค ICSI มีกระบวนการเหมือนการทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี IVF แตกต่างกันตรงขั้นตอนการปฏิสนธิ โดยวิธีการ ICSI จะคัดเลือกอสุจิที่คุณภาพดีหนึ่งตัว ฉีดเข้าไปในไข่โดยตรง เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิแทนการปล่อยให้อสุจิผสมกับไข่เองตามวิธี IVF
ICSI มักใช้ในการรักษาภาวะมีบุตรยาก ที่เกิดจากความผิดปกติของเพศชายระดับรุนแรงเกินกว่าจะรักษาโดยเทคนิค IVF ดังนั้น ICSI คือวิธีการรักษาที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงกว่า IVF นั่นเอง
การทำ ICSI มีขั้นตอนอย่างไร?
การทำ ICSI มีขั้นตอนโดยรวม 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. การกระตุ้นไข่
กระบวนการทำ ICSI เริ่มในวันที่ 2 หรือ 3 ของรอบเดือน แพทย์จะนัดพบฝ่ายหญิงเพื่อตรวจเลือดและอัลตราซาวด์ หากอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จะเริ่มกระตุ้นไข่ของฝ่ายหญิง ด้วยการฉีดยากระตุ้นไข่ทุกวัน เป็นเวลา 10-14 วัน ระหว่างนี้จะมีการตรวจเลือดและอัลตราซาวด์ เป็นระยะ ทุก 3-4 วัน เพื่อติดตามการเติบโตของฟองไข่ เมื่อฟองไข่โตถึงขนาดที่เหมาะสมแล้วแล้วจึงฉีดยากระตุ้นให้ไข่ตก (Trigger Shot) และ 36 ชั่วโมงหลังฉีดยา Trigger Shot จึงเริ่มกระบวนการเก็บไข่
2. การเก็บไข่และอสุจิ
36 ชั่วโมง หลังฉีดยากระตุ้นให้ไข่ตก แพทย์จะเริ่มกระบวนการเก็บไข่ด้วยการวางยาสลบ และใช้เข็มขนาดเล็กเจาะผ่านช่องคลอดและดูดไข่ออกมา โดยในระหว่างการเก็บไข่ แพทย์จะทำอัลตราซาวน์ในเวลาเดียวกัน
ในวันเก็บไข่ ฝ่ายชายจะเก็บอสุจิเช่นเดียวกัน เว้นแต่กรณีใช้อสุจิแช่แข็ง หลังจากนั้นอสุจิจะถูกปั่นล้างให้พร้อมสำหรับกระบวนการ ICSI หลังกระบวนการเก็บไข่ประมาณ 2 ชั่วโมง
3. การทำ ICSI หรือ ฉีดอสุจิที่คัดแล้วเข้าสู่ไข่
หลังเสร็จสิ้นกระบวนการเก็บไข่และอสุจิ นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะเลือกอสุจิผ่านกล้องจุลทรรศน์ โดยคัดอสุจิที่มีรูปร่างปกติและเคลื่อนไหวเร็ว และทำการฉีดอสุจิเข้าสู่ไข่ทีละใบด้วยเข็มขนาดเล็ก วันรุ่งขึ้น นักวิทยาศาสตร์จะตรวจสอบว่าไข่และอสุจิปฏิสนธิกันเป็นตัวอ่อนหรือไม่
4. การเลี้ยงตัวอ่อน
ตัวอ่อนจะถูกเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ 5-6 วัน จนเติบโตถึงระยะบลาสโตซิสต์ หลังจากนั้นตัวอ่อนที่แข็งแรงและคุณภาพดี จะถูกย้ายกลับสู่โพรงมดลูก หรือถูกนำไปแช่แข็งไว้เตรียมย้ายในรอบอื่นๆ
5. การย้ายตัวอ่อน
หลังเลี้ยงตัวอ่อนถึงระยะบลาสโตซิสต์ ตัวอ่อนที่คุณภาพดีจะได้รับการย้ายกลับสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิง การย้ายตัวอ่อนเป็นขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากและไม่เจ็บ แพทย์จะสอดสายย้ายตัวอ่อนเข้าไปผ่านช่องคลอดและปากมดลูกจนถึงโพรงมดลูก ควบคู่กับการใช้อัลตราซาวด์ช่วยนำทางปลายสายให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมในโพรงมดลูกก่อนที่จะฉีดตัวอ่อนเข้าไปฝังตัวตรงตำแหน่งที่ต้องการ เมื่อทำการย้ายเสร็จสิ้น ตัวอ่อนจะเริ่มฝังตัวที่ผนังมดลูกและเจริญเติบโต หลังการย้ายตัวอ่อน 7-10 วัน สามารถเจาะเลือดเพื่อตรวจการตั้งครรภ์ หลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ แพทย์จะตรวจอัลตราซาวด์อีกครั้งเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์
การทำ ICSI มีความเสี่ยงอะไรบ้าง?
โดยทั่วไปแล้ว ICSI เป็นกระบวนการรักษาที่มีความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามทุกการรักษาทางการแพทย์มีโอกาสเกิดความเสี่ยงได้ ความเสี่ยงที่พบได้จากกระบวนการ ICSI ได้แก่
ไข่เสียหาย: ด้วยลักษณะของไข่ที่มีความเปราะบาง ไข่อาจเกิดความเสียหายจากการใช้เข็มสอดเข้าไปในเนื้อไข่จากการทำ ICSI ดังนั้นการเลือกคลินิกที่มีนักวิทยศาสตร์ที่มีประสบการณ์และความชำนาญจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียหายของไข่จากการทำ ICSI
ความผิดปกติของโครโมโซม, ภาวะออทิสติก, ภาวะความผิดปกติทางสติปัญญา, และความผิดปกติโดยกำเนิด : ข้อมูลจากงานวิจัยบางงาน พบว่าการรักษาด้วยวิธี ICSI อาจสัมพันธ์กับการเกิดความผิดปกติดังกล่าวข้างต้นเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิค IVF และการตั้งครรภ์โดยธรรมชาติ
การตั้งครรภ์แฝด: อัตราการตั้งครรภ์แฝด จาก ICSI และตั้งครรภ์ธรรมชาตินั้นไม่ต่างกัน แต่การตั้งครรภ์แฝดย่อมเพิ่มขึ้นตามจำนวนตัวอ่อนที่ย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูก เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์แฝด (แฝดสอง, แฝดสาม ฯลฯ) แพทย์จะแนะนำให้ย้ายตัวอ่อนกลับเพียงแค่ตัวเดียว
ภาวะรังไข่ตอบสนองต่อการกระตุ้นมากเกินไป (Ovarian Hyperstimulation Syndrome (OHSS): ภาวะนี้เกิดจากการที่ร่างกายตอบสนองต่อยากระตุ้นมากเกินไป ทำให้มีอาการท้องอืด, กดเจ็บที่บริเวณช่องท้อง, มีอาการคลื่นไส้อาเจียน หรืออาจมีอาการรุนแรงได้หากไม่ได้ดูแล อย่างไรก็ดีคลินิกที่ได้มาตรฐานจะมีการตรวจติดตามการตอบสนองของรังไข่และปรับยาตามความเหมาะสม เพื่อลดโอกาสเกิด OHSS ให้น้อยที่สุด
ความพิถีพิถันในการเลือกคลินิก จึงนับว่ามีความสำคัญมาก คลินิก ICSI ที่ดีควรมีอุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยและครบครัน มีห้องปฏิบัติการที่มีคุณภาพและได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนมีทีมงานผู้ชำนาญการที่น่าเชื่อถือ และมีอัตราความสำเร็จที่น่าพอใจตลอดมา
หากต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับ การเก็บไข่ และการเจริญพันธุ์ท่านสามารถปรึกษาได้ที่ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที.
ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2550 โดยการร่วมมือระหว่างแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ IVF, ICSI, IUI, ฝากไข่ และเด็กหลอดแก้วในประเทศไทยและผู้ให้บริการด้านภาวะเจริญพันธุ์จากประเทศออสเตรเลีย ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. เป็นคลินิกรักษาผู้มีบุตรยากและวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อนที่เพียบพร้อมด้วยแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และทีมนักวิทยาศาสตร์ที่ชำนาญเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproduction Technology – A.R.T.) พวกเรามีความมุ่งมั่นจะสานทุกความฝันในการมีบุตรของทุกครอบครัวให้สมบูรณ์
-
ราคา : 0 บาท
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
สถานที่/ตำแหน่งร้าน
สถานที่ : 1126/2 Vanit Building II, Lobby Floor, New Petchburi Road, Makkasan, Ratchathewi, Bangkok, Thailand 10400แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ :
การทำ ICSI มีขั้นตอนอย่างไร และมีความเสี่ยงอะไรบ้าง
เรื่องที่คุณอาจสนใจ